สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงปลา คือ คุณภาพน้ำต้องดี ที่พเปรียบได้กับสภาพอากาศรอบๆตัวเรา มลภาวะ PM 2.5 หรือควันบุหรี่ ล้วนแล้วแต่เป็นพิษคอยบั่นทอนและทำให้เราเสียสุขภาพได้ในระยะยาว อย่างไรก็ดีสภาพอากาศไม่ดีเราเดินหนีได้ แต่ ปลาทำไม่ได้!!!
เนื่องจากปลาต้องอยู่กับน้ำตลอดเวลา หากสภาพน้ำไม่ดี ปลาไม่สามารถว่ายหนีไปไหนได้ ”ต้องทน” ทำให้ปลามีโอกาสป่วยอายุสั้นลง บ่อที่เราเลี้ยงเป็นระบบปิดการดูแลและใส่ใจเรื่องคุณภาพน้ำ ด้วยการทำความเข้าใจในเรื่องระบบกรองเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ปลาที่เรารักสุขภาพดีอยู่กับเราไปได้นานๆ
“คุณภาพน้ำที่ดีเริ่มต้นที่ความเข้าใจและการดูแลระบบกรองอย่างถูกวิธี”
ระบบกรองสำหรับปลาคาร์พ
ระบบกรองไม่ว่าจะมีกี่ช่อง จะเป็นช่องกรองที่ติดอยู่กับบ่อ หรือ เป็นกรองนอก จะเป็นแบบถังเดี่ยวสำเร็จรูป หรือเป็นชั้นๆเรียงต่อกันไปแบบกรองคอนโด ก็จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนที่เป็นกรองกายภาย กรองชีวภาพ และ ส่วนที่ทำหน้าที่ในการปรับสภาพน้ำ
กรองกายภาพ
- ทำหน้าที่ดักตะกอน วัสดุที่นิยมใช้ เช่น แปรงพู่ ใยแก้ว อวน อวนบอล ฟิลเตอร์แมท แมททาล่า ฟิกซ์เบด ดรัมฟิลเตอร์
- การเลือกใช้
ควรมั่นใจว่าสามารถดักตะกอนได้เป็นอย่างดีโดยที่น้ำจะสามารถไหลผ่านไปช่องกรองช่องสุดท้ายได้ทัน อย่างไรก็ดีหากใส่วัสดุกรองน้อยเกินไป หรือ ใช้วัสดุกรองผิดประเภทจะส่งผลทำให้มีตะกอนเล็ดลอดสู่กรองชีวภาพในช่องถัดๆไปได้ ทำให้เกิดสภาพอับอากาศขึ้นเนื่องจากการทับถม ทำให้เกิดแบคทีเรียอีกกลุ่มขึ้นมาแย่งอ๊อกซิเจน และ เบียดบังที่อยู่แบคทีเรียดี - การดูแล
ล้างบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างน้อย 2-3 วันครั้ง เนื่องจาก ตะกอน เศษอาหาร ขี้ปลา และ อินทรีย์สารต่างๆ จะเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียก่อโรค ทำให้สภาพน้ำเป็นกรด หน้าน้ำเป็นฟองแตกตัวช้า
ข้อดีในการเลือกใช้ดรัมฟิลเตอร์เป็นกรองกายภาพ
- เลี้ยงปลาให้อาหารอย่างเดียว เบาแรง ไม่ต้องล้างกรองเอง ปลอดภัยจากเชื้อโรคและอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นขณะล้างกรอง
- น้ำใส เห็นปลาชัดเจน ลดตะกอนได้เป็นอย่างดี
- กำจัดตะกอนออกจากบ่ออย่างต่อเนื่อง และ อัตโนมัติ ทำให้ลดอาหารของเชื้อโรค
- คุณภาพน้ำดีขึ้นมาก
คุณภาพน้ำที่ได้หลังการติดตั้งดรัม
- หน้าน้ำเป็นฟองน้อยลงมาก หากรวมกับการล้นน้ำ หน้าน้ำจะสะอาดมาก
- สีของน้ำจะค่อนข้างใส ไม่เหลืองอมน้ำตาล (ขึ้นกับการดูแลกรองในส่วนอื่นๆด้วย)
- ลดปัจจัยที่จะทำให้ค่า pH ในบ่อจะเป็นกรด เนื่องจากตะกอนภายในบ่อถูกกำจัดตลอด
- มีอ๊อกซิเจนสำหรับปลามีมากขึ้น เนื่องจากไม่ถูกใช้โดยแบคทีเรียเพื่อใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์สารต่างๆ ภายในบ่อ
ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ดรัมฟิลเตอร์
- การเอาขี้ปลา เศษอาหาร และตะกอนต่างๆออกจากบ่อ เป็นเพียงการทำให้น้ำไม่มีตะกอน แต่สิ่งที่เป็นพิษสำหรับปลามากที่สุด คือ แอมโมเนียยังคงอยู่อีกมากต้องอาศัยกรองชีวภาพเป็นตัวจัดการ
- ขี้ปลา เศษอาหาร และตะกอนต่างๆ เป็นเพียงแหล่งแอมโมเนียส่วนน้อยของบ่อ การบำบัดแอมโมเนียส่วนมากยังคงต้องใช้กรองชีวภาพ แอมโมเนียในบ่อมาจาก 2 แหล่งด้วยกันคือ
–ประมาณ 80% จากตัวปลาเองผ่านทางเหงือก
– พิสูจน์ได้โดยถึงแม้จะไม่ให้อาหารปลา ตอนกักโรค จะพบว่าว่า แอมโมเนียจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ถ่ายน้ำ
– ประมาณ 20% จากขึ้ปลา เศษอาหาร เมือก อื่นๆ รวมๆ กัน
“ผลพลอยได้” จากการใช้ดรัมฟิลเตอร์ คือ การกำจัดแอมโมเนียส่วนน้อยออกจากบ่อ
ขี้ปลา เศษอาหาร ตะกอน
เป็นของเสียส่วนน้อย แต่แอมโมเนียไม่มีสี
ขับออกจากเหงือกปลา เจืออยู่ในน้ำต้อง
ใช้กรองชีวภาพในการบำบัด
กรองชีวภาพ
- ทำหน้าที่ เป็นที่อยู่สำหรับให้ไนตริฟายอิ้งแบคทีเรียมายึดเกาะแล้วบำบัดน้ำ ด้วยการเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นไนไตรท์และเปลี่ยนไนไตรท์ให้เป็นไนเตรท วัสดุกรองที่นิยมใช้ ก็เช่น ฟิลเตอร์แมท อวน ฟิกซ์เบด มูฟวิ่งเบด แมททาล่า 3DM
ไนตริฟายอิ้งแบคทีเรียดี จะเป็นแบบเจลหรือน้ำเนื่องจากแบคทีเรียดีกลุ่มนี้ ไม่สามารถสร้างสปอร์ได้ จึงไม่ทำเป็นผง อย่างไรก็ดีในท้องตลาดที่จำหน่ายกัน มักเป็นแบบผง ซึ่งเป็นแบคทีเรียอีกกลุ่มที่ทำหน้าที่กำจัดเศษอาหาร ตะกอนต่างๆ หากเราติดตั้งดรัมฟิลเตอร์แล้ว เราก็ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้มาใช้ก็ได้เนื่องจากดรัมทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว
- การเลือกใช้จะขึ้นกับ ปริมาณของปลาในบ่อว่าเลี้ยงหนาแน่นเพียงใด โดยสเปคที่มากับกรองชีวภาพมักระบุเป็น ขนาดของพื้นที่เป็นตารางเมตร ต่อ ลูกบาศ์กเมตร (ช่องขนาด 1x1x1 เมตร) เช่น
–ฟิลเตอร์แมทให้พื้นที่ ประมาณ 250 ตรม./ลบ.ม
-มีเดียของ ฟิกซ์เบด หรือ มูฟวิ่งเบด ให้พื้นที่ ตั้งแต่ 100-1000 กว่า ตรม./ลบ.ม ขึ้นกับ รุ่นและยี่ห้อ - การดูแล ทุกๆ 1-2 อาทิตย์ควรใช้น้ำสะอาดจากในบ่อเช่นน้ำจากกรองช่องสุดท้ายมาฉีดล้างกรองชีวภาพเบาๆ เพื่อไล่ตะกอนละเอียดมากๆออกแล้วชักน้ำในช่องนั้นทิ้งออกไปและ อาจเติมไนตริฟายอิ้งแบคทีเรียเพิ่มเพื่อชดเชยกับบางส่วนที่หลุดออกไปตามแรงน้ำ
ส่วนปรับสภาพน้ำ
- ทำหน้าที่ในการปรับสภาพน้ำ ต่างๆ เช่น
– การรักษาสภาพน้ำไม่ให้เป็นกรดด้วยการใช้เปลือกหอยนางรม หรือ แร่ธาตุต่างๆ
– การกำจัดอินทรีย์สารในน้ำด้วยการใช้ โปรตีนสกิมเมอร์
– การกำจัดสีน้ำเหลืองอมน้ำตาล ด้วย คาร์บอนแบบเกล็ด (Granular Activated Carbon)
– การใช้ Clinoptilolite ในการดักจับแอมโมเนีย - การเลือกใช้ ขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้ ควรทำความเข้าใจหน้าที่และการทำงานของวัสดุกรองต่างๆก่อนนำมาใช้ และ หลีกเลี่ยงคำโฆษณาที่ข้างซอง เช่น
– คำโฆษณาในการใส่แร่ธาตุบางอย่างเพื่อเป็นการรักษาระดับค่า pH ให้เป็นกลาง
– ค่า pH ที่เป็นกลางไม่ได้เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาคาร์พแต่อย่างใดเนื่องจากสุ่มเสี่ยงที่น้ำจะเป็นกรดทำให้ ไนตริฟายอิ้งแบคทีเรียไม่สามารถเติบโตได้เป็นอย่างดี และ ตามปกติแล้ว เมื่อใส่แร่ธาตุ ใดๆ ลงไปมักจะดึงให้ค่า pH สูงขึ้น ไปมากกว่า pH เป็นกลางทั้งนั้น
– เปลือกหอยนางรม เป็นวัสดุกรองที่ให้อัลคาไลนิตี้สำหรับไนตริฟายอิ้งแบคทีเรียนำไปใช้ และป้องกันไม่ให้สภาพน้ำเป็นกรด ไม่เหมาะที่จะทำเป็นกรองชีวภาพเนื่องจากให้พื้นที่ต่อตารางเมตรที่น้อย อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าเสียดายที่โดยส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจเรื่องอัลคาไลนิตี้และเปลือกหอยนางรมถูกเข้าใจว่าเป็นกรองชีวภาพจึงถูกทดแทนด้วยวัสดุกรองอื่นๆ
– คาร์บอน นอกจากสามารถดักจับคลอรีนแล้วยังสามารถดักจับสีเหลืองอมน้ำตาล ของน้ำได้ หากใช้ในปริมาณที่มากพอน้ำที่วิ่งผ่านจะใสไม่มีสี (เช่น ระบบกรองเทพ ที่ภายในใส่คาร์บอนไว้) อาจจะเลือกเกรดที่สูงหน่อยเพื่อจับได้มากขึ้น เช่น เลือกใช้คาร์บอนไอดีอย่างน้อย 900 อย่างไรก็ดีน้ำที่ผ่านกรองคาร์บอน มักจะมีค่า pH ที่สูงขึ้น เนื่องจากกระบวนการผลิตมักใช้ความเป็นด่างสูง- การดูแล
– วัสดุกรองที่ทำหน้าที่ดักจับสิ่งต่างๆ ในน้ำ เมื่อดักได้ก็ตันได้ และมีทั้งไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เช่น
– Clinoptilolite แร่ธาตุในกลุ่มซีโอไลท์ที่ดักจับแอมโมเนีย เมื่อใช้ไปสักระยะแล้วเต็ม ก็สามารถนำมาแช่เกลือที่ความเข้มข้นสูงๆ ระดับเกินกว่า 30ppt แล้วนำกลับไปใช้ใหม่ได้ (ไม่ต้องกังวลกับการใส่เกลือเพียงเล็กน้อยแล้วจะทำให้ปล่อยแอมโมเนียออกมา)
– คาร์บอนแบบเกล็ด ใช้สำหรับดักสีเหลืองของน้ำ ดักคลอรีน อื่นๆ หากเต็มแล้วให้เปลี่ยน ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ยกเว้นแต่หลอมด้วยความร้อนสูงมากๆ ในกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งต้องทำโดยโรงงานผู้ผลิต
- การดูแล
คำแนะนำในการดูแลระบบกรอง
- รอบการล้างกรองทุกๆ 1 เดือน (โดยที่ไม่ได้ใช้ดรัมฟิลเตอร์) ส่งผลเสียต่อทั้งระบบกรอง กายภาพ และ ชีวภาพ
– ตะกอนภายในกรองกายภาพ กลายเป็นแหล่งอาหารของเชื้อโรค ทำให้น้ำเหลือง ทำให้ฟองหน้าน้ำแตกตัวช้า เช้าๆ เมื่อให้อาหารฟองจะหายไป และสักพักฟองจะกลับมา
– กรองชีวภาพ ยังไม่ได้เริ่มทำงานอย่างเต็มที่ก็ถูกทำลายเนื่องจาก กว่าที่แบคทีเรียดีจะเซ็ตตัว จะใช้เวลาประมาณ 40 วัน - การล้างกรองกายภาพ ควรล้างให้สะอาดกริบ ยกขึ้นมาล้างตากให้แห้งได้
- การล้างกรองชีวภาพ จะยกออกมาล้างก็ทำได้ แต่ให้ล้างเพียงแค่ไล่ตะกอนออกจากวัสดุกรองเบาๆก็เพียงพอ และ ในใส่ไนตริฟายอิ้งตามทุกครั้ง
- หมั่นตรวจสภาพน้ำและวัดประสิทธิภาพระบบกรอง https://youtu.be/31UIT9GJ2C4
เรียบเรียงโดย พี่เอ อะควาเอ๊กซ์
ส่วนประกอบของดรัมฟิลเตอร์
- โครงพลาสติกหนาอย่างดี หรือ โครงสแตนเลส ทรงกระบอก ขึ้นกับงบประมาณและการเลือกใช้
- แผ่นกรองสแตนเลส ขึ้นรูปตามโครงสร้างทรงกระบอกเพื่อใช้ดักตะกอนต่างๆ ที่เข้าสู่ภายในตัวดรัมฟิลเตอร์ มักมีความละเอียดที่ 100 ไมครอน
- เซ็นเซอร์ในการเช็คระดับน้ำ
- ปั้มแรงดันสูง สำหรับส่งน้ำฉีดทำความสะอาดตะแกรง
- หัวฉีดน้ำทำความสะอาด และ รางรับตะกอน
หลักการทำงาน
กรณีติดเซ็นเซอร์ระดับน้ำด้านหน้าดรัมฟิลเตอร์
- น้ำจากสะดือบ่อที่มีตะกอนต่างๆ จะไหลเข้าสู่กลางดรัมฟิลเตอร์ทรงกระบอก และซึมออกด้านข้างผ่านตะแกรงของตัวดรัมฟิลเตอร์ จากนั้นน้ำจะผ่านไปยังกรองช่องถัดไป ส่วนตะกอนจะถูกดักไว้
- เมื่อตะกอนติดอยู่ตามโครงสร้างด้านในมากขึ้น จะทำให้น้ำผ่านได้น้อยลง ระดับน้ำขาเข้าของดรัมสูงขึ้น จนถึงระดับที่เซ็นเซอร์ตั้งไว้ หัวฉีดน้ำล้างดรัมก็จะทำงาน โดยจะฉีดล้างตะแกรงดรัมจากด้านนอก ตะกอน หรือ สิ่งสกปรกจะตกลงสู่รางดักตะกอนที่อยู่ภายในตัวดรัมฟิลเตอร์
- รอบในการทำความสะอาดตะแกรงของดรัมฟิลเตอร์ จะขึ้นอยุ่กับปริมาณปลา จำนวนอาหารที่จะทำให้เกิดตะกอนภายในบ่อ
รูปแบบในการติดตั้ง
- แบบแยกจากตัวบ่อ เป็นระบบกรองนอก
– เหมาะสำหรับ บ่อที่ไม่มีระบบกรอง ต้องการระบบกรองเสริม หรือ บ่อที่ระบบกรองเดิมเล็กไป ใช้ปั้มน้ำจุ่มลงบ่อแล้วสูบน้ำขึ้นมาให้ดรัมฟิลเตอร์ จากนั้นปล่อยน้ำกลับสู่บ่อ โดยอาจจะนำไปน้ำที่ได้ไปผ่านทั้งกรองชีวภาพ และ ส่วนปรับสภาพน้ำก็จะยิ่งได้น้ำที่มีคุณภาพน้ำดีมากขึ้น - แบบติดลงในช่องกรองช่องแรก
– เหมาะสำหรับบ่อใหม่ หรือ บ่อที่มีพื้นที่เพียงพอในการติดตั้ง
ผลงาน ในการติดตั้งดรัม กับฟาร์มชั้นนำ และ นักเลี้ยงระดับประเทศ
- ไทยนิปปอน
- คุณ…
เสียงจากผู้ใช้จริง
- คุณ…