บทความ/ข่าวสาร

มาทำความรู้จักสารทำความเย็น ของน้ำยาR410

หลายๆท่านคงจะคุ้นเคย หรือเคยได้ยินชื่อของ น้ำยาแอร์แบบ R22 มาบ้างแล้ว แต่ไม่ค่อยได้ยิน R410A เพราะน้ำยาแอร์ แบบ R22 นั้นมีใช้กันมานานมากๆ และพึ่งจะมีการรณรงค์เปลี่ยนไปใช้ สารทำความเย็นแบบ R401A เมื่อไม่นานมานี้เอง โดยเหตุผลหลักก็ไม่ใช่อะไร แต่เป็นเรื่องของผลกระทบในระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง 

วันนี้ทางร้านเชียงใหม่แอร์แคร์ จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับ น้ำยาแอร์ R410A ว่าน้ำยาแอร์ตัวนี้นั้น มันดีกว่า น้ำยาแอร์ R22 แบบที่เราเคยใช้กันมายาวนานอย่างไร รวมไปถึงทำไมแอร์รุ่นใหม่ๆ ต้องนำคำว่า R410A ไปโฆษณาในสื่อต่างๆ ว่ามันดีกว่าสารความความเย็นแบบเดิมๆ แต่เดิมนั้นมีวิวัฒนาการสารทำความเย็นหลายชนิดมากๆ เช่น H134a R407c ฯลฯ จนกระทั่งมาถึงยุคของ R-22 ที่ผ่านมา (และปัจจุบัน)   

สารทำความเย็น R22 แบ่งเป็นสามกลุ่ม

1. Propane Series  R290 และ R600a ในที่นี้พูดถึง R290 โดยนำมา combine กับ R600a เพื่อเพิ่มความสามารถด้าน COP และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Co.. 22 หรือ Re.. 22 หรือ R431a เป็นต้น เรียนว่าเป็น “สารติดไฟ” ปริมาณการใช้น้อยกว่าร้อยละ 50 เพราะมีขนาดของโมเลกุลโตกว่า HFCs ประหยัดไฟกว่าเพราะไม่มีส่วนผสมของ Fluorine สรุป ลุกติดไฟได้ง่าย ประหยัดค่าไฟฟ้า ใช้ปริมาณน้ำยาน้อยกว่า น้ำยาราคาแพงมากและไม่ยุติธรรมเอาเสียเลย ผู้ขายน้อยราย เป็นสินค้ากึ่งผูกขาด ค่า global warming ต่ำ  

2. Zeotropics ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันคอมฯ (เดินท่อระยะใกล้) R417a, R424a, R422d ต้องเปลี่ยนน้ำมันคอมฯ R407c, R427a ต้องใช้กับระบบที่ design เฉพาะ R410a สรุป แม้ ODP จะเท่ากับ 0 แต่ค่า Global Warming ยังสูงอยู่ Handling ง่าย  

3. Inorganic Compounds R744 หรือคาร์บอนไดออกไซด์ แรงดันสูงมากอาจเป็นอันตรายได้ operating temperature range ค่อนข้างจำกัด ราคาถูก global warming ต่ำ handle ยากกว่า freon เปลี่ยนสถานะได้ทั้งสาม 3 สถานะคือ ก๊าซ, ของแข็งและของเหลว การดีไซน์ระบบยุ่งยากกว่า   R717 หรือแอมโมเนีย ราคาถูก capacity และ COP อยู่ด้านขวาสุดของกราฟ ในเมืองห้ามใช้ ต่างจังหวัดก็เริ่มควบคุม ข้างบ้านคุณไม่ชอบมันแน่ ๆ และเมื่อรั่วจะเป็นพิษแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง การสูดดมในปริมาณเข้มข้น แม้คุณมองเห็นประตูทางออกอยู่ไกลออกไปเพียง 15 เมตรก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะเดินไปถึงเพราะอาจนอนฟุบอยู่ตรงนั้นเสียก่อน  

ประวัติจากน้ำยาแอร์ R-22 มาเป็น R410a 

ในกลางปี 1990 สารทำความเย็นชนิด R407C ได้ถูกออกแบบขึ้น โดยมีค่าการทำความเย็นและแรงดันที่ใกล้ เคียงกับสารทำความเย็นชนิด R22 แต่มีสิ่งท้าทายว่าจะออกแบบอย่างไรให้มีประสิทธิภาพทางพลังงานใน ระบบเทียบเท่ากับระบบที่ใช้สารทำความเย็นชนิด R22 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสารทำความเย็นชนิด R407C  จะไม่ใช่สารทำความเย็นในอุดมคติแต่ก็เป็นที่นิยมในตลาดยุโรป

คุณสมบัติของสารทำความเย็นชนิดนี้ คือ การไม่ทำลายชั้นโอโซน ช่วยลดภาวะโลกร้อน และสามารถใช้ได้กับระบบที่ใช้สารทำความเย็นชนิด R22 เดิมได้ เพียงแก้ไขแบบเล็กน้อยเท่านั้น

ส่วนข้อด้อยของสารทำความเย็นชนิดนี้ คือความไม่เสถียรในบางสถานะของสัดส่วนและคุณสมบัติของน้ำยา และประสิทธิภาพที่ลดลงเล็กน้อยจาก R22

อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกรายใหญ่หลายรายจากญี่ปุ่นได้ร่วมมือและสนับสนุนที่จะใช้สารทำความเย็นชนิด R407C กับระบบปรับอากาศที่ส่งเข้าตลาดยุโรป สำหรับตลาดญี่ปุ่นนั้น ส่วนใหญ่ของตลาดมุ่งไปยังการใช้สารทำความเย็นชนิด R410a แทน   

ในปัจจุบัน สารทำความเย็นชนิด R410a ซึ่งมีส่วนประกอบของ fluorocarbon คือสารทำความเย็นล่าสุดที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทดแทนสารทำความเย็นชนิด R22 สารทำความเย็นชนิดนี้เป็นชนิดที่ยอมรับในตลาดผู้ใช้ระบบปรับอากาศทั่วโลก ในกลุ่มประเทศเอเชีย ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ใช้สารทำความเย็นชนิดนี้อย่างแพร่หลาย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ตามมาด้วยประเทศออสเตรเลีย

ขอบคุณที่มา : มารู้จัก สารทำความเย็น น้ำยาแอร์ R410A กัน คุณสมบัติ การใช้งาน ข้อดีข้อเสีย